fbpx

Patcharavej Clinic

Juvenile plantar dermatosis

Source: DermNetNZ.org

โรค Juvenile plantar dermatosis เป็นโรคผิวหนังแห้งชนิดเรื้อรังที่เท้าซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็กในช่วงอายุก่อนวัยรุ่น

ใครบ้างที่สามารถเป็นโรคนี้ได้

  • Juvenile plantar dermatosis เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กช่วงอายุระหว่าง 3-14 ปี (อายุเฉลี่ย 8 ปี) โดยพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย สามารถพบในผู้ใหญ่ได้น้อยมาก
  • พบว่าสามารถพบร่วมและสัมพันธ์กับกลุ่มโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หอบหืด หรือภูมิแพ้จมูกได้

สาเหตุ

  • การเสียดสีซ้ำๆบ่อยๆ เช่น เท้าที่ถูกับด้านในของรองเท้าบ่อยๆหรือตลอดเวลา
  • การสวมใส่รองเท้าที่อับหรืออบเป็นเวลานาน โดยเฉพาะรองเท้าที่ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น ไนลอน หรือ ไวนิล
  • เท้าที่มีเหงื่อออกมากกว่าปกติแล้วตามมาด้วยการที่เหงื่อระเหยหรือแห้งอย่างรวดเร็ว สามารถทำให้ผิวแห้งแตกเป็นแผลได้
  • พันธุกรรม
  • สภาพอากาศ – อากาศร้อนทำให้เหงื่อออกมากกว่าปกติ

ลักษณะที่พบเจอได้

  • พบการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณที่รับน้ำหนักแรงกดมาก โดยสามารถพบอาการคัน หรือ เจ็บ ร่วมกับผิวด้าน เงา หรือแดงมากขึ้น อีกทั้งยังพบว่าลายนิ้วเท้าจะหายไปกลาบเป็นผิวด้านหรือเรียบ
  • มักพบร่วมกันทั้งสองเท้า
  • สามารถเกิดผิวแห้งแตกเป็นสะเก็ด และเป็นแผลได้
  • บริเวณฝ่าเท้าที่ติดกับนิ้วเท้าโดยเฉพาะนิ้วโป้งเป็นตำแหน่งที่พบได้มากที่สุด
  • สามารถพบได้บริเวณส้นเท้า ส่วนง่ามนิ้วเท้าและกลางฝ่าเท้ามักไม่พบการเปลี่ยนแปลง
  • พบที่ฝ่ามือและนิ้วมือได้น้อยมาก
Source: DermNetNZ.org

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้

  • ผิวหนังแห้งแตกเป็นแผลและเจ็บโดยเฉพาะเวลาเดิน ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย
  • มีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนน้อยมาก

การวินิจฉัย

  • วินิจฉัยโดยดูจากลักษณะผื่นและอาการ
  • การขูดสะเก็ดผิวหนังเพื่อตรวจหาเชื้อรา
  • การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ผิวหนังหากสงสัยว่าเกิดจากการแพ้รองเท้าวัสดุสังเคราะห์
  • การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนังทางพยาธิวิทยามีความจำเป็นน้อยมาก

การวินิจฉัยแยกโรค

  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
  • โรคผิวหนังลอกอื่นๆ
  • สะเก็ดเงิน
  • เชื้อราที่เท้า
  • การแพ้วัสดุสังเคราะห์ในรองเท้าที่สวมใส่ประจำ

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผลดีและจำเพาะต่อโรคนี้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่

  • ลดการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับรองเท้า เช่น รองเท้าที่สวมใส่สบายพอดี ไม่คับหรือหลวมเกินไป การสวมถุงเท้าผ้าฝ้ายเพื่อช่วยลดการเสียดสีโดยตรง เปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆ หลีกเลี่ยงรองเท้าที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์หากทราบสารที่แพ้
  • ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ด้วยการทาครีมหรือ moisturizer ที่มีส่วนผสมของยูเรียหรือพาราฟิน (เช่นวาสลีน) โดยเฉพาะหลังอาบน้ำและก่อนนอน ควรทาครีมที่ช่วยปกป้องผิวหนังลดการเสียดสี (Barrier cream) ซึ่งสามารถใช้ได้เรื่อยๆระหว่างรอบวันและควรทาซ้ำทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • ควรพักเท้าโดยงดเดินหรือเดินให้น้อยที่สุด หากพบว่าผิวแตกเป็นแผลและเจ็บเพื่อให้แผลหายได้เร็วขึ้น
  • ดูแลแผลด้วยการปิดพลาสเตอร์หรือใช้กาวสำหรับทาแผลโดยเฉพาะ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดเจ็บ
  • ยาทา ได้แก่ Tacrolimus ointment หรือยาทาสเตียรอยด์ ทา 1-2 ครั้งต่อวัน ระยะเวลาตั้งแต่ 1-4 สัปดาห์ (จากการศึกษาพบว่าอาจได้ผลไม่แตกต่างจากครีมที่เพิ่มความชุ่มชื้นมากนัก)

การพยากรณ์โรค

  • ส่วนใหญ่มักหายได้เองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แต่บางกรณีพบว่าโรคสามารถอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่

 

 

 

 

Source:

  • https://dermnetnz.org/topics/juvenile-plantar-dermatosis/
  • http://www.pcds.org.uk/clinical-guidance/juvenile-plantar-dermatosis
  • https://www.dermcoll.edu.au/atoz/juvenile-plantar-dermatosis/