Patcharavej Clinic

เสียความมั่นใจเพราะรอยแผลเป็นสิวหรือหลุมสิว

         แผลเป็นสิวหรือหลุมสิว มักเกิดขึ้นหลังจากที่สิวอุดตันหรือสิวอักเสบหายแล้ว สามารถเป็นได้ทั้งรอยดำ รอยแดง หรือ หลุมสิว ซึ่งในช่วงที่เป็นสิวนั้นหากเกิดสิวอักเสบขนาดใหญ่ เช่น สิวหัวช้าง ก็จะยิ่งมีส่วนทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่รักษาได้ยากขึ้นเช่นกัน โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยแผลนั้นๆ

บางบริเวณหลังเป็นสิวอาจทำให้เกิดแผลเป็นนูนได้ เช่น คาง แนวคาง ขากรรไกร จมูก คอ หลัง ซึ่งการรักษาก็จะมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

การรักษารอยแผลจากสิว

  • ยาทา (ได้ผลกับรอยดำสิว)
  • การลอกผิวชั้นบนด้วยกรดผลไม้เข้มข้น (chemical peeling)
  • การฉีดฟิลเลอร์ (filler) บริเวณหลุมสิว  ได้ผลชั่วคราว
  • การฉีด PRP (Platelet-rich plasma) หรือ น้ำเกร็ดเลือดเข้มข้น ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ ซ่อมแซมแผลเป็น
  • การใช้เข็มตัดพังผืดใต้หลุมสิว (Subcision) เหมาะสำหรับหลุมที่มีผังผืดเกาะด้านใต้ชัดเจน หรือขอบแผลแข็ง 
  • การแต้มกรดด้วยวิธี TCA Cross บริเวณหลุมสิว โดยเฉพาะประเภท ice pick scar 
  • การฉีด polynucleotide เข้าไปใต้หลุมสิว ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนใหม่ ได้ผลถาวรระยะยาว
  • การใช้เทคโนโลยี Energy-based device ได้ผลดีระยะยาว ต้องทำต่อเนื่องหลายครั้ง
    + เลเซอร์ต่างๆ (Laser) เช่น CO2 laser, Er YAG laser, Fractional Picosecond laser (PicoSure) เป็นต้น
    + คลื่นความถี่วิทยุ Fractional Radio Frequency (RF) เช่น เครื่อง Venus Viva MD, Sylfirm X Plus เป็นต้น
  • การผ่าตัดหลุมสิว เช่น Puch excision, punch elevation เป็นต้น

      วิธีการรักษารอยแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะรอยแผลของคนไข้ บางวิธีอาจจะไม่เหมาะกับสภาพผิวและส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร โดยปกติแล้วคนไข้ หนึ่งคมมักจะมีหลุมสิวหลากหลายชนิดปะปนกันไป ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงจุดกับคนไข้แต่ละท่านและให้ได้ผลที่ชัดเจน อาจะต้องใช้การรักษาหลายๆวิธีร่วมกัน แนะนำควรให้แพทย์เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเป็นผู้ประเมินสภาพผิวให้โดยละเอียดเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป